• หน้าแรก
  • Clickzy Tips
  • แนะนำ อาหารผู้ป่วยมะเร็ง สำหรับช่วงรักษาและพักฟื้นให้ยังได้คุณค่าครบถ้วน

ขึ้นชื่อว่าเป็นโรคมะเร็ง ก็ถือเป็นโรคร้ายที่ควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วหลังจากถูกวินิจฉัย เพราะจะปล่อยไว้นานคงไม่เป็นผลดีแน่ ทั้งกับสุขภาพและค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วย ซึ่งการรักษามะเร็งก็มีอยู่หลายวิธี ทั้งการผ่าตัด การฉายแสง (รังสี) เคมีบำบัด การรักษาด้วยฮอร์โมน หรือแม้แต่การใช้หลาย ๆ วิธีรวมกัน ทั้งหมดก็เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งนั้นให้หมดไปจากร่างกาย


แต่การรักษามะเร็งเองก็มีผลข้างเคียง เพราะระหว่างขั้นตอนในการรักษาเหล่านี้เซลล์ปกติในร่างกายที่ยังสุขภาพดีก็อาจถูกทำลายไปด้วย ส่งผลให้ผู้รักษามะเร็งอาจมีอาการเหนื่อยและอ่อนเพลีย ซึมเศร้า เบื่ออาหาร การรับรสชาติอาหาร และความสามารถในการย่อยอาหารเปลี่ยนไป ทำให้กินอาหารได้น้อยลง เกิดภาวะน้ำหนักลดเร็ว ร่างกายสูบผอม และเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารได้ การเตรียมอาหารผู้ป่วยมะเร็งที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น


อาหารผู้ป่วยมะเร็ง

อาการเบื่ออาหาร ผลข้างเคียงที่พบบ่อยหลังเข้ารักษามะเร็ง

เพราะการกำจัดเซลล์เนื้อร้ายอย่างมะเร็งออกไปจากร่างกาย อาจส่งผลให้เซลล์ดีบางส่วนถูกกำจัดรวมออกไปด้วย ผู้ป่วยมะเร็งจึงมักรู้สึกว่าร่างกายอ่อนแอลงหลังจากได้รับการรักษา ซึ่งอาการเหล่านี้จะรุนแรงมากน้อยหรือยาวนานแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งที่ผู้ป่วยเป็น ร่างกายส่วนไหนที่ต้องรักษา และความเข้มข้นในการรักษานั้น ถ้าหากผู้ป่วยมะเร็งได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน อาการข้างเคียงต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะหายไปและช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งฟื้นตัวหลังเข้ารับการรักษาได้เร็วขึ้น


อาหารผู้ป่วยมะเร็ง จำเป็นแค่ไหน ต้องกินอะไรบ้าง

เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถฟื้นตัวจากการรักษาได้เร็ว แพทย์จึงมักแนะนำอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่เน้นให้พลังงานสูงและมีโปรตีนสูง โดยอาจลดการรับประทานอาหารที่มีกากเยอะ เพราะยังไม่สามารถกลับมาทานอาหารปกติได้ทันที และอาจมีปัญหาต่อความสามารถในการย่อย ทำให้มีอาการท้องเสีย ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน หรือแพ้อาหารบางชนิดได้ เช่น นม เพราะร่ายกายแพ้แลกโตส จึงอาจเลือกทานเป็นนมแบบแลกโตสต่ำแทนเพื่อให้ร่างกายยังได้โปรตีนอยู่


โดยผู้ป่วยที่ยังทานอาหารแบบปกติได้ควรเน้นทานเป็นมื้อเช้า และให้มื้อที่เหลือของวันเป็นอาหารเสริม หรืออาหารเหลวอื่น ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงาน รวมถึงดื่มน้ำให้เพียงพอด้วยเช่นกัน ในส่วนนี้อาหารเหลว เช่น ซุป อาหารบด อาหารปั่น หรืออาหารผู้ป่วยมะเร็งจึงมีบทบาทช่วยเป็นอาหารเสริม ให้ผู้ป่วยยังได้รับสารอาหารที่เพียงพอได้ในกรณีที่มีอาการเบื่ออาหารและทานอาหารได้น้อย


นอกจากนี้อาหารผู้ป่วยมะเร็งที่พักฟื้นควรจะอยู่ในลักษณะที่ทานง่าย พร้อมรับประทาน และสามารถดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้เร็ว เนื่องจากบางคนอาจมีอาการข้างเคียงอย่างเจ็บปากและเจ็บคอ ทำให้รู้สึกว่าการต้องเคี้ยวอาหารกรอบหรือแข็งเป็นเรื่องยาก


อาหารผู้ป่วยมะเร็ง

าหารผู้ป่วยมะเร็ง ผสมน้ำพร้อมดื่มได้ จาก เนสท์เล่

ในกรณีที่ผู้ป่วยมะเร็งเบื่ออาหารและทานอาหารได้น้อย อาหารผู้ป่วยมะเร็งสูตรผง Nestle Oral Impact จาก เนสท์เล่สําหรับผู้ป่วยมะเร็ง เพียงผสมน้ำก็พร้อมดื่ม ด้วยวัตถุดิบทั้งหมดถูกคัดสรรตามหลักโภชนาการ Nestlé Health Science มีสารอาหาร 5 หมู่ใน 1 แก้ว ได้แก่ โปรตีนเวย์ กรดอะมิโนแล-อาร์จินีน น้ำมันปลาโอเมก้า 3 และ ไรโบนิวคลีโอไทด์ ชงดื่มง่าย รสชาติอร่อย มีกลิ่นทรอปิคอลฟรุต

เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่เตรียมตัวผ่าตัด และที่กำลังพักฟื้น มีภูมิต้านทานที่ต่ำหลังการรักษา และเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารจากการทานอาหารได้น้อยเพราะอาการ ทั้งนี้อาหารผู้ป่วยมะเร็ง Nestle Oral Impact เป็นอาหารทางการแพทย์และควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์


อาหารเสริม Nestle Oral Impact จากเนสท์เล่สําหรับผู้ป่วยมะเร็ง สามารถซื้อทาง Clickzy เพียง คลิกที่นี่ ในราคา 1,036 บาท ขนาด 370 กรัม บรรจุ 5 ซอง

วิธีรับประทานและเก็บรักษา

แนะนำดื่มเสริม วันละ 3 ซอง 5-7 วันก่อนการรักษา

กรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะขาดสารอาหาร ให้ใช้ต่อเนื่อง 4-5 ซองต่อวัน อย่างน้อย 7 วันหลังการรักษา หรือตามคำแนะนำของแพทย์

ใช้ละลายผง 1 ซอง (74 กรัม) ในน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำเย็น 250 มล.

หนึ่งซองให้พลังงาน 310 กิโลแคลอรี ต่อ 300 มล. (ความเข้มข้น 01 กิโลแคลอรี/มล.)

ควรเก็บในที่เย็น อุณหภูมิระหว่าง 4-25 องศาเซลเซียส และควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดและความชื้น


ข้อแนะนำในการใช้ อาหารผู้ป่วยมะเร็ง Nestle Oral Impact

  1. ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  2. ใช้สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
  3. ใช้ผสมน้ำดื่ม หรือให้ทางสายยางให้อาหารได้
  4. ห้ามผสมกับยาหรืออาหารอื่น ๆ
  5. ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อชนิดรุนแรง

หมายเหตุ: สินค้านี้ไม่ใช่ยา ไม่สามารถใช้รักษาโรคหรือใช้กำจัดเซลล์มะเร็งได้ เป็นเพียงแต่อาหารเสริมเพื่อช่วยดูแลสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งในระหว่างเข้ารับการรักษา ควรปรึกษาและรับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง

One More Tips:

แม้ว่าอาการเบื่ออาหารอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่รักษามะเร็งทุกรายเสมอ และบางครั้งอาจเกิดจากสภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยเอง การได้รับความดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีกำลังใจจากคนรอบข้างก็มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้นได้เช่นกัน


อ้างอิง:

- https://www.chulacancer.net/patient-list-page.php?id=76

- https://www.clickzy.com/nestle-oral-impact-size-370-grams-5-sachets

สอบถาม
Vimut shop pharmacy
ดูประวัติ

ชวนรู้จัก Sterile Water น้� ...

อาหารเสริมวัยทอง� ...