หลังทานอาหารอิ่มจากมื้อใหญ่ บางคนอาจรู้สึกมีอาการท้องอืดหรือปวดท้อง รวมถึงมีแก๊สมากในกระเพาะอาหารเนื่องจากร่างกายต้องผลิตกรดเพิ่มขึ้นเพื่อให้มาช่วยย่อยอาหาร ทำให้ในบางคนอาจขยายอาการจนเกิดเป็นปัญหากรดไหลย้อนและแสบกลางอกได้ในเวลาต่อมา ยาลดกรดยี่ห้อไหนดีพอจะช่วยปรับสมดุลของกรดในกระเพาะ ลดอาการจุกเสียด และช่วยขับลมจากแก๊สกระเพาะ วันนี้ CLICKZY รวบรวมยาลดกรด 5 รายการมาแนะนำทุกคนกัน
ยาลดกรด กับ ยาเคลือบกระเพาะ เหมือนหรือต่างกันยังไง?
ยาลดกรด: จะเป็นยาที่ช่วยปรับสมดุลของกรดในกระเพาะไม่ให้เข้มข้นเกินไป รวมถึงช่วยระบายอาการจุกเสียดแน่นท้อง และอาจช่วยขับลมจากแก๊สเกิน ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและบรรเทาอาการอึดอัดที่กระเพาะอาหาร
ยาเคลือบกระเพาะ: จะเป็นยาที่ช่วยเคลือบผนังภายในกระเพาะอาหาร จากการถูกกรดย้อยอาหารกัดจนเกิดแผลเนื่องจากมีกรดเยอะเกินไปหรือเข้มข้นเกินไป ในยาเคลือบกระเพาะบางตัวอาจให้ฤทธิ์ในการลดกรดไปด้วยในตัวได้ด้วยเช่นกัน ซึ่ง CLICKZY ได้อธิบายไว้ใน 4 ยาเคลือบกระเพาะยี่ห้อไหนดี อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับยายาเคลือบกระเพาะเพียงคลิกซิ
ยาลดกรด ควรกินตอนไหนดี?
หากเป็นยาลดกรดสำหรับแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อเล็กน้อย ก็สามารถทานได้เลยเมื่อมีอาการ ตามขนาดที่แนะนำในฉลาก เพื่อรีบบรรเทาอาการโดยเร็วที่สุด และไม่จำเป็นต้องใช้ต่อเนื่อง ขณะที่ยาที่ช่วยเคลือบกระเพาะจากกรดเกิน ควรกินตามคำแนะนำในฉลาก คือหลังมื้ออาหารหรือก่อนนอน หรือตามที่แพทย์แนะนำ
แนะนำ 5 ยาลดกรด ช่วยให้สบายท้องลดอาการจุกเสียด
1. BELCID ยาลดกรด และช่วยเคลือบกระเพาะ | 240 ml
ยาเคลือบกระเพาะและลดกรด BELCID SUSPENSION แบบน้ำ ช่วยทั้งเคลือบแผลเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้กรดย้อยอาหารทำระคายเคืองต่อแผล และยังช่วยปรับสมดุลของกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่น และกรดไหลย้อนในขวดเดียว
วิธีใช้: ทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.) วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารประมาณ 1 ชม. และก่อนนอน หรือตามที่แพทย์สั่ง
*ควรอ่านฉลากทุกครั้งก่อนใช้ยา
ขนาด: 240 มล.
ราคา: 35 บาทจาก 40 บาท สั่งซื้อได้ทาง CLICKZY เพียงคลิกซิ
2. ENO แบบผงชงน้ำดื่ม รสส้ม | 60 ซอง
ยาลดกรดอีโน Eno ผงชงน้ำดื่ม รสส้ม ใช้เป็นยาลดกรดช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย และช่วยลดอาการแสบร้อนกลางอก เนื่องจากมีกรดมากในกระเพาะอาหาร
วิธีใช้: ทานครั้งละ 1 ซอง (4.3 กรัม) ชงละลายกับน้ำเปล่า 1 แก้ว สำหรับดื่ม
*ควรอ่านฉลากทุกครั้งก่อนใช้ยา
ขนาด: 60 ซอง / 1 กล่อง (ซองละ 4.3 กรัม)
ราคา: 745 บาท สั่งซื้อได้ทาง CLICKZY เพียงคลิกซิ
3. Gaviscon Dual Action ชนิดน้ำ สูตรปราศจากน้ำตาล รสมิ้นต์ | 10 ml (24 ซอง)
Gaviscon Dual Action ชนิดน้ำ ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อย พร้อม 2 กลไกการออกฤทธิ์ โดยช่วยปรับสภาพกรดในกระเพาะให้เป็นกลาง ลดอาการปวดท้องจากกรด และช่วยสร้างชั้นเจลป้องกันการลอยตัวของกรดในกระเพาะอาหาร ไม่ให้ไหลย้อนและลดอาการแสบร้อนกลางอก
วิธีใช้: ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ทานครั้งละ 1 – 2 ซอง ไม่เกินวันละ 4 เวลาหลังอาหารและก่อนนอน *เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ให้ทานตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
*ควรอ่านฉลากทุกครั้งก่อนใช้ยา
ขนาด: 24 ซอง / 1 กล่อง (ซองละ 10 มล.)
ราคา: 680 บาท สั่งซื้อได้ทาง CLICKZY เพียงคลิกซิ
4. Air-X แอร์-เอ็กซ์ ชนิดเม็ด | 10 เม็ด
ภาพจาก: medthai.com
ยาลดกรดในกลุ่มไซเมทิโคน (Simethicone) ช่วยบรรเทาแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ที่มีสาเหตุจากการเกิดแก๊สเยอะในกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยช่วยให้ร่ายกายระบายแก๊สส่วนเกินออก เพียงแต่ไม่ได้ช่วยยับยั้งการเกิดแก๊สจากกระบวนการย่อยอาการ หรือช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะลง จุดเด่นคือยากลุ่มไซเมทิโคนจะไม่สะสมตกค้างในร่างกาย จึงเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยละสามารถทานได้ทุกตลอดเวลาเมื่อมีอาการท้องอืดจากกรดเกิน
วิธีใช้: ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ทานครั้งละ 1 – 2 เม็ด เคี้ยวให้เม็ดยาแตกออก แล้วดื่มน้ำเปล่าตามเพื่อกลื่นเม็ดยา ทานได้เมื่อมีอาการ (ไม่ควรเกินวันละ 6 เม็ด)
*ควรอ่านฉลากทุกครั้งก่อนใช้ยา
ขนาด: 10 เม็ด / 1 แผง
ราคา: ประมาณ 20 บาท หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
5. Antacil แอนตาซิล | 10 เม็ด
ภาพจาก: thaismegp.com
ยาแอนตาซิล สำหรับลดกรดและช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการปวดท้อง ท้องอืด จุกเสียดและแน่นท้อง ในตัวยา 1 เม็ด ประกอบด้วย
- ดราย อลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ เยล 250 มก.
- แมกนีเซียม ไทรซิลิเคต 350 มก.
- คาโอลีน 50 มก.
วิธีใช้: ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ทานครั้งละ 1 – 2 เม็ด เคี้ยวให้เม็ดยาแตกละเอียด แล้วดื่มน้ำเปล่าตามเพื่อกลื่นเม็ดยา วันละ 3 – 4 ครั้ง หลังอาหาร ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง และก่อนอน
*ควรอ่านฉลากทุกครั้งก่อนใช้ยา
**ไม่ควรใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคไต
ขนาด: 10 เม็ด / 1 แผง (แบบกล่อง 50 แผง)
ราคา: ประมาณ 10 - 12 บาท ต่อ แผง หาซื้อได้ตามร้านขายยาและร้านสะดวกซื้อ
One More Tip:
ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ถือเป็นยาบรรเทาอาการแบบเฉพาะหน้าและเพียงชั่วคราวเท่านั้น หากยังมีอาการปวดท้องเหมือนเดิมในเวลาต่อมาหรือแสบกระเพาะอาหารรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาแบบเฉพาะทางจะดีที่สุด