การเข้าเฝือก ถือเป็นขั้นตอนการรักษาทางการแพทย์เพื่อดามกระดูก ช่วงข้อต่อของร่างกาย และอวัยวะเที่อาจแตกหรือหัก รวมถึงเส้นเอ็น เส้นประสาท และกล้ามเนื้อที่อาจฉีกขาดด้วยการตรึงอยู่ในพิมพ์ให้ขยับน้อยที่สุด เพื่อให้อวัยวะส่วนนั้นได้มีโอกาสรักษาตัวเองให้กลับมาเข้าที่ตามตำแหน่งที่ควรจะเป็นจนกว่าหายดี เช่น การรักษะกระดูกแขนหัก กระดูกขาหัก ดามลำคอ รวมถึงอาการข้อเท้าพลิกหรือแพลงที่ปัจจุบันมีรองเท้าเฝือกโดยเฉพาะอีกด้วย
หากไม่มีการเข้าเฝือกไว้ เรายังจำเป็นต้องขยับร่างกายเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งบ่อยครั้งมีโอกาสไปรบกวนหรือขยับอวัยวะส่วนที่ยังบาดเจ็บ กระตุ้นให้บาดแผลหายช้าหรือเพิ่มการบาดเจ็บให้ให้รุนแรงกว่าเดิมได้
ทำไมต้องมีรองเท้าเฝือก เมื่อกำลังสวมเฝือกอยู่แล้ว
สำหรับคนที่บาดเจ็บที่ขาและข้อเท้าเพียงข้างใดข้างหนึ่งและยังสามารถเดินได้ด้วยไม้ค้ำยันโดยไม่ต้องนั่งรถเข็น เมื่อรักษาถึงระยะที่สามารถเริ่มการทำกายภาพบำบัดได้ด้วยการเดินพร้อมขาข้างที่ยังสวมเฝือกอยู่ เพื่อให้เฝือกยังคงความสะอาดจากสิ่งสกปรกบนพื้นอยู่จนกว่าจะถึงกำหนดถอดเฝือกสมบูรณ์ รองเท้าเฝือกจึงเข้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยให้ขาข้างที่ยังสวมเฝือกอยู่ลงพื้นเดินได้อย่างหมดกังวล
เพราะหากเฝือกเปียกน้ำที่เลอะอยู่บนพื้นหรือสัมผัสสิ่งสกปรกเรื่อย ๆ ก็อาจกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ทำให้บาดแลและผิวหนังใต้เฝือกติดเชื้อได้ นอกจากนี้การเดินด้วยเฝือกโดยตรงผู้บาดเจ็บอาจยังลงน้ำหนักเท้าได้ไม่พอดี หากเป็นการเข้าเฝือกแข็งอย่างปูนพลาสเตอร์ก็มีโอกาสทำให้เฝือกแตกหรือร้าวได้ ทำให้ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเข้าเฝือกใหม่
ประเภทรองเท้าเฝือกมีแบบไหนบ้าง
รองเท้าเฝือกเข้ากรอบ (Cast Boot)
จะมีลักษณะคล้ายกับรองเท้าบูทที่หุ้มขาส่วนที่เข้าเฝือกไว้ทั้งหมดจากเท้าจนเกือบถึงหัวเข่า โดยกรอบภายนอกจะเป็นพลาสติกหนาแข็งแรงป้องกันการกระแทกและตึงไม่ให้ขาที่เข้าเฝือกอยู่ขยับบตัวมากขณะเดิน ส่วนด้านในจะหุ่มด้วยวัสดุฟองน้ำและผ้าใบเพื่อเพิ่มความนุ่มสบายขณะสวมใส่
รองเท้าเฝือกปั๊มลม (Air Cast Boot)
จะมีลักษณะคล้ายกับรองเท้าเฝือกบูทเข้ากรอบในแบบแรก แต่จะมีฟังก์ชันการปรับระดับความแน่นหรือผ่อนคลายด้วยถุงลมที่บรรจุไว้ในวัสดุหุ้มด้านใน ให้สามารถปรับความแน่นได้ตามพอดีของผู้สวมใส่และยังช่วยเป็นตัวรับแรงกระแทกขณะเดินได้อีกด้วย แต่รองเท้าเฝือกรูปแบบนี้จะมีราคาที่สูงกว่าแบบอื่น ๆ
รองเท้าเฝือกสายรัดหุ้มข้อเท้า
จะมีลักษณะคล้ายกับรองเท้าแตะทั่วไป โดยด้านบนจะเป็นสายรัดที่เปิดออกสำหรับสวมใส่และปรับความแน่นได้ ส่วนมากจะมีส่วนที่ห่อหุ้มเท้ายาวถึงช่วงข้อเท้าเท่านั้น รองเท้าเฝือกแบบนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะหายดีหรือใกล้จะถึงกำหนดถอดเฝือกแล้ว
รองเท้าเฝือกหาซื้อที่ไหนบ้าง
ส่วนใหญ่รองเท้าเฝือกสามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือสามารถติดต่อสอบถามจากคลินิกด้านกระดูกในโรงพยาบาล โดยจะมีตั้งแต่ราคา 300 บาท จนถึงหลักหลายพันบาทต่อข้าง ตามขนาดและรูปแบบ สำหรับรองเท้าเฝือกแบบสายรัดธรรมดาคล้ายรองเท้าแตะปัจจุบันมีจำหน่ายทั่วไปตามเว็บไซต์ออนไลน์ด้วยเช่นกัน
แนะนำรองเท้าเฝือก Cast Shoes (ประเทศเกาหลี) สีน้ำเงิน ไซส์ XL
รองเท้าเฝือกใช้สำหรับผู้ที่ยังต้องใส่เฝือกขาหรือเฝือกเท้า สามารถสวมใส่ได้ทั้งข้างซ้ายและขวา หมดกังวลเรื่องสวมสลับข้าง ขนาดความยาวเท้า 26 – 28 ซม. สวมใส่สะดวกด้วยการปลดเข้าล็อคจากด้านบน ปรับความแน่นได้ตามต้องการ
ราคา 320 บาท จาก 360 บาท *ราคาจำหน่ายต่อข้าง
สนใจรองเท้าเฝือก Cast Shoes (ประเทศเกาหลี) สีน้ำเงิน ไซส์ XL สามารถสั่งซื้อทาง Clickzy ได้เพียงคลิกซิ
One More Tip:
แม้จะมีรองเท้าเฝือกให้สวมใส่เพื่อช่วยดามและตรึงขาอีกชั้นจากเฝือกจริงแล้ว หากไม่ได้ลุกเดินไปไหนหรือต้องอยู่ในท่านั่งเป็นเวลานาน ๆ ผู้ที่เข้าเฝือกขาและเท้าก็ยังจำเป็นต้องจัดท่าทางในการนั่งให้เหมาะสมด้วยการพาดขาข้างที่ใส่เฝือกไว้เสมอ เพื่อป้องกันอาการช้ำในภายในเฝือก