• หน้าแรก
  • Clickbiz Tips
  • 5 เทคนิคการบริหารคลังสินค้า ที่เจ้าของธุรกิจ E-Commerce ควรรู้

ในธุรกิจซื้อขายสินค้าออนไลน์แบบ E-Commerce การบริหารและจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพนับเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจทำกำไรและตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากคุณภาพของสินค้าที่ขายและกลยุทธ์ทางการตลาดที่ธุรกิจเลือกใช้เพื่อดึงดูดลูดค้า

ความสำคัญของการบริหารคลังสินค้า

เพื่อให้วิเคราะห์ตลาดและวางแผนการขายได้อย่างตรงจุด

การทำธุรกิจแบบ E-Commerce ไม่ใช่เพียงการซื้อขายสินค้าแบบซื้อมา-ขายไป ที่ขายใกล้หมดแล้วค่อยสั่งเพิ่ม แต่ควรวางแผนและติดตามยอดขายของสินค้าทุกรายการอย่างละเอียดเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มในพฤติกรรมของลูกค้า ว่าสินค้ารายการไหนมีความต้องการซื้อสูงและทำยอดขายได้เยอะ รวมถึงกลุ่มของสินค้าที่ขายดีตามช่วงฤดูกาลที่ไม่เท่ากัน เจ้าของธุรกิจจะได้วางแผนการขายให้สอดคล้องกับช่วงเวลานั้น ๆ ได้ตรงจุดมากขึ้น

เพื่อให้เข้าใจภาพรวมและทิศทางของสต็อคสินค้าได้ชัดเจน

การบริหารคลังสินค้าจะช่วยให้เจ้าของธรุกิจโดยเฉพาะผู้ค้ารายย่อยสามารถเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นว่า สินค้ารายการใดบ้างมีรายการนำเข้า-ขายออกไปเท่าไหร่ มีแนวโน้มความต้องการซื้อมากน้อยแค่ไหนเพื่อเตรียมเติมสต็อคให้ทันและไม่เสียโอกาสในการขายให้กับเจ้าอื่น หรือลดความเสี่ยงที่จะขาดทุนหากสินค้ามีแนวโน้มจะคงค้างสต็อคและขายไม่ออก จะได้ลดการลงทุนในสินค้ารายการนั้น

อีกทั้งยังช่วยให้ตรวจสอบและควบคุมจำนวนสินค้าได้แม่นยำมากขึ้น ป้องกันการตกหล่นหรือสูญหาย เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการติดตามสินค้าในคลังนั่นเอง

รวม 5 เทคนิคการบริหารและจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ

1. แบ่งข้อมูลสินค้าตามหมวดหมู่ และจัดการสินค้าด้วยรหัส SKU

เป็นการจัดทำฐานข้อมูล Database ของสินค้าที่ขาย ควรมีการแบ่งกลุ่มและแยกประเภทของสินค้าต่าง ๆ ที่ลงขายในเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มด้วยการเข้ารหัสอย่างเช่นการจัดทำ Stock Keeping Unit (SKU) ของสินค้าแต่ละรายการ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาและติดตามข้อมูลได้อย่างครบถ้วนแม่นยำตลอดทุกขั้นตอนการขาย

2. จัดเก็บชิ้นสินค้าอย่างเป็นระเบียบตามหมวดหมู่

นอกจากการทำฐานข้อมูลของสินค้าทุกรายการแล้ว ก็ควรมีการจัดระเบียบให้กับสถานที่ที่ใช้จัดเก็บหรือตุนสินค้าอย่างเช่นคลังหรือโกดังให้ชัดเจนด้วยเช่นกัน โดยจัดทำระบบเพื่อบันทึกตำแหน่งของสินค้าไม่แตกต่างกับการจัดระบบของห้องสมุด พร้อมบันทึกจำนวนขายและนำเขาของสินค้าแต่ละรายการอยู่เสมอ และอาจจัดพื้นที่เฉพาะสำหรับกลุ่มสินค้าขายดีเพื่อให้หยิบจับได้สะดวก


3. ตรวจสอบรายการสินค้าเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

คอยอัปเดตยอดขายของสินค้าแต่ละรายการเป็นประจำ โดยอาจตั้งรอบบันทึกตามความถื่ในการสร้างยอดขายเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนก็ได้ เพื่อติดตามดูว่าสินค้ารายการไหนที่ขายดี จะได้วางแผนผลิตหรือสั่งสินค้ารายการนั้นเพิ่มให้ทันกับคำสั่งซื้อจากลูกค้าในรอบต่อ ๆ ไป


4. คาดการณ์แนวโน้มและระยะเวลาในการหาสินค้าเพิ่ม

เพราะสินค้าทุกชิ้นมีต้นทางในการผลิตที่ไม่เหมือนกัน บางรายการอาจต้องรอล็อตใหม่เป็นรอบตามฤดูกาลหรือมีขั้นตอนในการผลิตหรือจัดหาวัตถดิบที่ซับซ้อนและกินเวลาไม่เท่ากัน ผู้ทำ E-Commerce จึงควรรู้และเข้าใจระยะเวลาการสั่งสินค้าแต่ละรายการ เพื่อเตรียมเพิ่มหรือลดสต็อคสินค้าในคลังให้เพียงพอกับความต้องการซื้อของลูกค้า

5. คัดสรรสินค้าเพื่อเตรียมทำการตลาดแต่ละเทศกาล

เตรียมกลุ่มสินค้าเพื่อวางแผนการทำการตลาดให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าในแต่ละช่วงเทศกาลสำคัญ ๆ ตามฤดูกาล เช่น การจัดโปรโมชั่นสินค้าในหมวดของสินค้าเพื่อสุขภาพในช่วงฤดูฝน ขณะที่ช่วงฤดูร้อนที่มีแดดจัด ก็อาจเน้นส่งเสริมการขายสินค้าในกลุ่มของครีมกันแดด เป็นต้น


One More Tip:

การบริหารคลังสินค้าอาจดูยุ่งยากและน่าเบื่อเพราะต้องคอยติดตามและอัปเดตอยู่เสมอ แต่ก็เลี่ยงไม่ได้สำหรับธุรกิจ E-Commerce หากต้องการติดตามยอดขายได้อย่างแม่นยำ ซึ่งปัจจุบันก็มีเครื่องมือช่วยจัดการและบริหารคลังสินค้าสำหรับเจ้าของธุรกิจรายย่อยอยู่มากมาย รวมถึงส่วนของบริการช่วยจัดการสินค้าจากตัวแทนผู้ให้บริการแพลตฟอร์มแทนตัวเจ้าของร้านเองอีกด้วย เพื่อให้ธุรกิจสามารถบริหารคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น

ชวนรู้จัก Dark Store อีก� ...